14-7-35 มงกุฎ
1,070 ฿
14-7-35+0.5MgO+0.03B ตรามงกุฎ
ปุ๋ยผสม แบบคลุกเคล้า สูตร 14-7-35+0.5MgO+0.03B เหมาะสำหรับสร้างแป้ง เพิ่มผลผลิต เพิ่มน้ำหนัก มีธาตุอาหารรอง แมกนีเซียม และ ธาตุอาหารเสริม โบรอน
ปุ๋ยคลุกเคล้า NPK ผลิตจากแม่ปุ๋ยคุณภาพจากแหล่งคุณภาพสูง ผสมด้วยเครื่องจักรและกระบวนการผลิตที่ทันสมัย ผสมครั้งละ 50 กิโลกรัม (1 กระสอบ) ทำให้ได้ธาตุอาหารมาตรฐานทุกกระสอบ
สูตร 14-7-35 ตรามงกุฎ
14-7-35 + แมกนีเซียม 0.5(MgO)+ โบรอน 0.03(B)
ธาตุอาหาร
ไนโตรเจน (N) :————————————–14%
ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (P205) :————7%
โพแทสเซียมที่ละลายน้ำ ( K20) : —————35%
ธาตุอาหารรอง
แมกนีเซียม (MgO) :————————–0.5%
ธาตุอาหารเสริม
โบรอน ( B ) : ———————————0.03%
ปุ๋ย NPK+ Mgo + B เน้นบำรุงผล เร่งหัว เพิ่มความหวาน เพิ่มขนาด ขยายผล
พืชที่แนะนำให้ใช้ พืชไร่ พืชสวน ไม้ผล ไม้ยืนต้น และปาล์มน้ำมัน
ปาล์มน้ำมัน เป็นปุ๋ยเคมีที่ใช้บารุงต้นปาล์มน้ามันที่มีอายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป การใส่บำรุงต้นปาล์มมีหลายวิธี เช่น หว่านลงไปรอบ ๆ โคนต้น วิธีหว่านแล้วคราดกลบ ใช้ปุ๋ยเคมีอัตรา 3-5 กก./ต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดและอายุของต้นปาล์ม โดยแบ่งการใส่ปุ๋ยเคมีปีละสองครั้ง หว่านรอบ ๆ ต้นตามแนวรัศมีพุ่มใบ เมื่อพรวนดินกลบแล้วตามด้วยการให้น้ำ
ไม้ผลและไม้ยืนต้นอื่นๆ เช่น ส้ม องุ่น เงาะ ลำไย มังคุด น้อยหน่า ขนุน พุทรา กาแฟ มะพร้าว ควรใช้กับพืชที่ตกผลแล้วเท่านั้น ไม่ควรใช้ขณะที่พืชกำลังเจริญเติบโตอยู่ และยังไม่ตกผล เช่น ไม้ผลที่ให้ผลแล้ว ใช้ปุ๋ยเคมีอัตรา 1-2 กก./ต้น โดยใส่ครั้งเดียวเมื่อติดผลแล้ว 15-30 วัน การใส่ ควรใส่ในแนวรัศมีทรงพุ่มใบ อย่าให้กระทบกระเทือนรากมากจนเกินไป มีการให้น้ำพอเพียง สาหรับกาแฟ และมะพร้าว ก็เช่นเดียวกัน ควรใส่เมื่อพืชตกผลแล้ว ใช้ปุ๋ยเคมีอัตรา 2-5 กก./ต้น/ปี โดยแบ่งใส่ปีละสองครั้ง
พืชหัว เช่น มันสำปะหลัง ใช้แต่งหน้าในระยะที่พืชกำลังสร้างผลผลิต ใช้ปุ๋ยเคมีอัตรา 25-30 กก./ไร่ เมื่ออายุ 4-5 เดือน หรือกลางฤดูฝน โดยหยอดปุ๋ยเคมีบริเวณโคนต้นให้เป็นรูปวงแหวน หรือแนวทั้วสองข้างของแถวพืช ให้ห่างจากโคนต้นประมาณ 6-8 นิ้ว
ธาตุอาหารรอง / ธาตุอาหารเสริม
แมกนีเซียม (Mg)
เป็นองค์ประกอบสำคัญของคลอโรฟิลล์ (สีเขียว) ในพืช
ช่วยสร้างโปรตีน ไขมัน วิตามิน และน้ำตาลในพืช
ส่งเสริมการนำธาตุฟอสฟอรัสไปสู่ลำต้น
ทำให้สภาพกรดด่างในเซลล์เหมาะสม
โบรอน (B)
ส่งเสริมการออกดอกในพืช
ช่วยในการผสมเกสรและการติดผล
ช่วยให้พืชใช้ประโยชน์จากไนโตรเจนและแคลเซียมได้ดียิ่งขึ้น
ช่วยในการเคลื่อนย้ายฮอร์โมนในพืช